หลักการและเหตุผล

                      ในยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และนำมาซึ่งความท้าทายที่หลากหลาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ไม่ว่าจะเป็น รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานราชการ องค์การมหาชน หรือ บริษัทจดทะเบียน และบริษัทเอกชนต่าง ๆ จะต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา เพื่อให้มีองค์ความรู้ และทักษะที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน

                      สำหรับผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรนั้น ปัจจุบันมีโครงการฝึกอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เปิดโอกาสให้เข้าศึกษาหาความรู้และพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายของผู้บริหารในระดับเดียวกัน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อกัน และยังเอื้อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอีกด้วย

                      อย่างไรก็ตามความจำเป็นอีกอย่างหนึ่งที่องค์กรสมัยใหม่เห็นความสำคัญมากยิ่งขึ้น ก็คือการวางแผนสร้างบุคลากรในระดับรองและผู้ช่วยผู้บริหารสูงสุด เพื่อให้มีความพร้อมที่จะก้าวขึ้นรับตำแหน่งสูงสุดขององค์กร (Succession Plan) ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานั้น มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ (IRDP) จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรLeadership Succession Program (LSP) เพื่อสนองความต้องการนั้นและนับตั้งแต่ปี 2556 และได้จัดหลักสูตร LSP มาแล้วจำนวน 14 รุ่น

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เข้ารับการอบรมโดยเฉพาะผู้บริหารขององค์กรรัฐวิสาหกิจ เอกชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานภาครัฐ องค์กรมหาชน องค์กรเอกชนที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับองค์กรภาครัฐให้มีความพร้อมสำหรับการเป็นผู้นำที่จะสามารถบริหารงานได้อย่างมืออาชีพ มีวิสัยทัศน์ คุณธรรมและจริยธรรม และมีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ (Leadership Skills)
เพื่อสร้างเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นอันจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้เข้ารับการอบรมจากภาคส่วนต่างๆ และจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาของแต่ละองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Participatory Policy Platform)
เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างผู้เข้ารับการอบรมซึ่งเป็นผู้ที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำองค์กร และเอื้อให้เกิดพลังร่วมในการพัฒนาประเทศชาติและขับเคลื่อนภารกิจขององค์กรไปสู่เป้าหมายร่วมกัน (Leadership Network)

การนำเสนอผลงานทางวิชาการ และกรณีศึกษา
             การนำเสนอผลงานทางวิชาการ โดยการแบ่งผู้เข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มย่อยในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ เพื่อร่วมระดมความคิดเห็นในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาการอบรม ซึ่งเน้นการพิจารณาประเด็นปัญหาขององค์กรภาครัฐและเอกชน และร่วมกันเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมตลอดจนวิสัยทัศน์ของผู้นำ 

การศึกษาดูงานในประเทศ และต่างประเทศ
              เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่มุ่งให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเสริมสร้างทักษะและพัฒนาภาวะการเป็นผู้นำรวมถึงการบริหารงานด้านต่างๆ และมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้เข้ารับการอบรม 

เงื่อนไขการผ่านหลักสูตร
             ผู้ที่จะผ่านการอบรมตามหลักสูตร จะต้องผ่านเงื่อนไขดังนี้
             1. มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมและปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายครบถ้วนตามหลักสูตร และเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาทั้งหมดในหลักสูตร
             2. ร่วมจัดทำและนำเสนอผลงานวิชาการ
             3. เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมและศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

กลุ่มเป้าหมาย


รายละเอียดหลักสูตร

  

กำหนดการ

  

ผลงานที่ผ่านมา

หลักสูตรที่กำลังเปิดรับสมัคร

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้